ประวัตินกกรงหัวจุก
"นกกรงหัวจุก"
ชื่ออื่นๆ นกกรงหัวจุก (ใต้) นกปรอดหัวโขนเคราแดง นกปรอดหัวจุก นกปรอดหัวโขน (กลาง) นกพิชหลิว นกปริ๊จจะหลิว( เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pycnonotus jocosus
สกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวน เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนกที่เพาะพันธุ์ได้ พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านไปจนถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบต่ำ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๓๖ ชนิด นกมีถิ่นอาศัยอยู่แถบเอเชียในกลุ่มประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง
ตำนานนกกรงหัวจุก (นกปรอดหัวจุก)
นกกรงหัวจุก ที่เราๆท่านๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่ม ได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงคือชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินไปตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิ้น มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตกใจมากจนถึงขั้นช๊อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนกันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเซีย พบได้ ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนใหญ่ เราจะพบนกชนิดนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย นั่นคือการแข่งขันประชันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียง ในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้วปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้มาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2515 เพราะว่าชาวจังหวัดสงขลา มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแบบแข่งขันประชันเสียง โดยเอาแบบมาจากการแข่งขันของนกเขาชวา คือนำนกป่าที่ต่อมาได้นำมาเลี้ยงและฝึกให้เกิดความเชื่องกับคนเลี้ยงหรือเชื่องกับผู้ที่เป็นเจ้าของ พร้อมกับฝึกให้นกมีความสามารถในการร้องในลีลาต่างๆ ตามแต่ที่นกในแต่ละตัวจะทำได้ และผู้เล่นนกกรงหัวจุกก็เริ่มเปลี่ยนการละเล่นที่นำนกมาตีกัน มาเป็นอย่างเดียวกันกบนกเขาชวา คือการเล่นฟังเสียงอันไพเราะของนก จากนั้นการแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็เริ่มมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในยุคนั้น และได้ยกเลิกการแข่งขันนกกรงหัวจุกในแบบตีกัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2520 ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก โดยจัดตั้งขึ้นเป็นชมรม ซึ่งทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย กรุงเทพมหานคร ได้มีการเล่นนกกรงหัวจุก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2524 โดยมีกลุ่มคนทางภาคใต้นำเอากีฬาชนิดนี้เข้ามาเผยแพร่ให้เป็นทีรู้จักและได้จัดให้มีการแข่งขัน ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ตลอดสวนจตุจักร และนับแต่นั้นมากระแสความนิยมแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็ได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกพิชหลิว ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pycnomotus Jocosus เป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ วงศ์สกุล (GENUS) ของนกปรอดมีมากมายหลายชนิด วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) เป็นนกที่มีชนิดมากที่สุด ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีเป็นจำนวนมาก และที่ถูกค้นพบมากที่สุดคือประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบนกปรอดทั้งหมด ประมาณ 36 ชนิด โดยที่ปรอดทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด นกปรอดหัวจุกที่นิยมนำมาแข่งขันกันนั้น จะนิยมนำนกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือที่ภาคใต้เรียกว่านกหัวจุก ภาคเหนือนิยมเรียกว่านกปริ๊จจะหลิวหรือพิชหลิว ส่วนในสายพันธุ์อื่นๆ นั้น ปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่ามีการนำมาเลี้ยงเพื่อการแข่งขันประชันเสียงร้อง เช่นเดียวกับนกกรงหัวจุกแต่อย่างใด
ลักษณะทั่วไปของนกปรอดหัวโขนเคราแดง
แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัว ขนส่วนหัวจะร่วมกันเป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน ใต้ท้องมีขนสีขาว นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกกรงหัวจุกนั้นทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมายาวนานแล้ว และสืบทอดกันมาชั่วลูกหลานจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งจนเรียกได้ว่าการเลี้ยงนกกรงหัวจุกเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านหรือเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่งของคนภาคใต้ไปแล้ว และไม่ปรากฏหลักฐานใดๆว่าคนทางภาคใต้เริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่เมื่อใดแต่มีหนังสือนกกรงหัวจุกเล่มหนึ่ง โดยมีคุณศักดา ท้าวสูงเนิน เป็นบรรณาธิการ ได้รวบรวมและเขียนเอาไว้ว่า การเริ่มเลี้ยงนกปรอด ประเทศสิงคโปร์ น่าจะเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงนกปรอดก่อนประเทศอื่นๆ และได้ให้ความสำคัญกับนกชนิดนี้มาถึงกับเอารูปนกปรอดหัวโขนเคราแดงมาเป็นสัญลักษณ์ในการพิมพ์ธนบัตรใช้จ่ายภายในประเทศ ดังนั้น จึงขอสันนิษฐานว่าน่าจะเลี้ยงก่อนชาติอื่นๆ
ส่วนในประเทศไทยเริ่มมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกกันมานานแล้วประมาณว่าเกิน กว่40ปีมาจนถึงปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงและการแข่งขันประชันเสียงออกเป็นชนิดต่างๆ เช่นมีทั้งการแข่งขันประชันเสียงในประเภทนับดอก คือให้คะแนนตามที่นกร้องออกมาเป็นคำละคะแนน ประเภทสากล ประเภทเสียงทอง และในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏว่ามีการแข่งขันประเภทตีกัน
การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีผู้คนให้ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการจัดงานแข่งขันประชันเสียงกันทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ในแต่ละสัปดาห์จะมีรายการแข่งขันทั้งประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 5 สนาม มีชมรมฯต่างๆ ที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุกทั่วประเทศนับเป็นร้อยๆ ชมรมฯ และสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การได้รับการโปรดเกล้าพระราชทานถ้วยเป็นรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการแข่งขัน มีตั้งแต่ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งสร้างความปราบปลื้มและเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลของผู้ที่ได้ครอบครองถ้วยพระราชทาน วงการนกกรงหัวจุกจัดได้ว่าเป็นวงการที่ได้รับความนิยมจากคนไทยทั้งประเทศเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมแพร่ขยายมากขึ้น มีการจัดรายการแข่งขันติดกันและต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้การสนับสนุนหลายท่าน ซึ่งส่งผลให้วงการกีฬานกกรงหัวจุกเป็นกีฬาที่สร้างความสนุกสนานและเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับคนในชาติได้เป็นอย่างดี
ลักษณะมงคลที่ดีของนกกรงหัวจุก
ลักษณะมงคลที่ดีของนกกรงหัวจุก (หนังสือนกเขาชวา นกกรงหัวจุก)
การเล่นนกกรงหัวจุกมีความเชื่อเกี่ยวกับลักษณะคล้ายๆ กับนกเขาชวา แต่ไม่มีตำรับตำราเหมือนนกเขาชวา มีแต่การพูดต่อๆ กันมา ส่วนใหญ่จะเน้นว่าถ้าลักษณะดีก็จะร้องเสียงดี คือลักษณะที่มีผลต่อเสียงร้องมากกว่า โดยกล่าวว่านกลักษณะดี มงคล 12 ประการ มีดังนี้ 1.ส่วนของใบหน้าใหญ่ รูปโครงสร้างใบหน้าดูเหมือนสิงโต
2. หงอน จุกบนหัวใหญ่ โคนจุกขนดกหนายาว ตั้งตรงปลายแหลม ขนเรียบลู่ในแนวเดียวกัน ดำสนิท ปลายโน้มเอียงไปข้างหน้าเล็กน้อย (ถ้าเป็นไก่ เรียกว่า หงอน นกเรียกว่าจุก)
3. นัยน์ตาดุ หรือหวาน คมใส ไวต่อสิ่งสัมผัส ทั้งภายนอก-ใน 4. สันปากใหญ่หนา คมปากประกบกันสนิทคล้ายสันปากนกเหยี่ยว หรือนกอินทรี (จะงอยปากไม่งุ้มลงมากเหมือนนกเหยี่ยว) 5. สีแต้มแดงที่หูหรือหูแดงเข้มถึงเข้มมาก 6. สีแก้มขาวชัด ขนขึ้นดกหนาใหญ่ขาวสะอาด หนวดดำเส้นเล็กตัดหว่างสีแก้มกับเคราใต้คาง
7. คอใหญ่ ขนเคราขึ้นดกหนาฟูใหญ่ สร้อยคอดำสนิท หรือภาษานกเรียกว่าหมึกดำ หมึกดำสนิท ขนขึ้นดกหนาใหญ่ย้อยลงถึงข้างล่าง ถึงจรดก้น
9. สีบัวใต้หางชัด สีแดงออกส้มๆ หรือสีแสดบานถึงบานใหญ่ 10. หางพัดยาว ปลายหางไม่แตก หางขาวดำ หรือหางดำป้ายขาว 8 หาง ข้างละ 4 หาง หางดำปรอด 4 หาง รวมเป็น 12 หาง หางยาว หางไม่แตก เวลายืนด้วยอาการปกติปลายหางซ้อนกันในแนวเดียว 11. ลีลาท่ายืน เดิน สง่า สองขาจับมั่น ดูองอาจ สง่างาม เป็นนกใจเดียว เวลาสู้สู้ไม่ถอย 12. เสียง นกดำน้ำเสียงดี เสียงดังฟังชัด จะเป็นนกเสียงเล็ก เสียงกลาง เสียงใหญ่ได้ทั้งนั้น (เสียงไม่แหบพร่า) เหมาะเป็นนกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ |
ลักษณะทั่วไป มีขนาดยาวประมาณ ๒๐ ซ.ม มีปากเรียวแหลม ปลายปากโค้งเล็กน้อย และมีขนสั้นแข็งบริเวณโคนปาก คอสั้น ลำตัวเพรียว ปีกสั้น หางยาว โดยนกปรอดหัวโขนมีขนหงอนยาวสีดำตั้งชันขึ้นมาบนหน้าผากเป็นลักษณะเด่นมองดูคล้ายกับคนที่สวมหัวโขนหรือชฎาที่มียอดแหลมขึ้นมาลักษณะพิเศษของนกปรอดหัวโขนจะมีปากดำ กระหม่อมดำเช่นเดียวกับหงอน แก้มสีขาวและมีเส้นสีดำลากจากโคนปาก ลงมาต่อกับแถบสีดำข้างคอ ใต้ตามีแต้มสีแดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่าง สีขาว โคนหางด้านล่างสีแดง ปลายขอบหางสีขาว ขาสีดำ
วิธีดูเพศนก
นกกรงหัวจุกตัวผู้
หัวใหญ่ หน้าใหญ่ ขนคอขาวฟู ฐานจุกใหญ่ ปลายจุกโค้งไปด้านหน้าเล็กน้อย ดวงตาสดใส หมึกดำจะยาวกว่าตัวเมีย บางตัวปลายหมึกเกือบชิดกัน บัวแดงใหญ่ สีสดชัดเจน ข้อสังเกตุคือ ขนหัวปีกทั้งสองข้างมีสีแดงนิดหน่อยซึ่งตัวเมียไม่มี บริเวณขนหน้าอกหน้าท้องถ้าใช้ลมปากเป่าเบา ๆ จะเห็นขนอ่อนคลุมทั่วไป แต่ตัวเมียไม่ค่อยมี นกเก่งตอนยืนร้องจะเหยียดขาจนสุดข้อเท้า ปลายหางสอดใต้คอน ลีลาท่าเต้นงดงาม ร้องเป็นเพลงยาว ๆ มีจังหวะที่ดี 5-7 คำ
นกกรงหัวจุกตัวเมีย
หัวเล็ก หน้าเล็ก ขนคอเรียบ ๆ ฐานจุกเล็ก ปลายจุกโค้งไปด้านหลังหรือชี้ตรง หมึกดำมีไม่มาก บัวแดงเล็ก เรียบ ลีลาร้องไม่คึกคัก เพลงไม่ยาว มักร้อง 1-3 คำ ( ส่วนมาก 2 คำ )นกปรอดหัวโขนที่ยังโตไม่เต็มวัยตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันบริเวณหน้าผากและหงอนมีสีน้ำตาลอมดำ แต้มสีแดงใต้ตายังไม่ปรากฏ เห็นเพียงแก้มสีขาวใต้โคนหางก็เป็นสีชมพูจางๆ หรือสีส้มอ่อน ๆ ยังไม่แดงเข้มเท่ากับพ่อแม่ สำหรับแต้มสีแดงใต้ตาเป็นลักษณะเด่นของนกปรอดหัวโขน
ลักษณะ/นิสัย
|
นกกรงหัวจุกตัวผู้
|
นกกรงหัวจุกตัวเมีย
|
จุกที่หัว
|
ขนจุกบนหัวใหญ่ จุกที่อยู่บนหัวมีโคนจุกใหญ่แล้วเริ่มเล็ก
เรียวขึ้นไป ปลายจุกแหลมและปลายจุกจะชี้ไปทางหัวของนก |
ขนบนจุกจะเล็กกว่าตัวผู้จุกที่อยู่บนหัว มีโคนจุกเล็กกว่าตัว แล้วเริ่มเรียวขึ้นไปปลายจุกแหลม แต่ปลายจุกจะชี้มาทางด้านหลัง
|
หัว
|
มีหัวและใบหน้าใหญ่
|
มีหัวและใบหน้าเล็กกว่าตัวผู้
|
ปาก
|
มีสีดำเป็นมันและปลายปากงอเล็กน้อย
|
มีปากสีดำเป็นมันและปลายปากงอเล็กน้อย
|
ตา
|
ดวงตากลมและใส สีดำ
|
ดวงตากลมและใสสีดำ
|
ขนแดงใต้ตา
|
เป็นสีแดงฟูเป็นกระจุกใต้ตา
|
เป็นขนสีแดงฟูเป็นกระจุกใต้ตา
|
ขนแก้ม
|
เป็นกระจุกสีขาวฟูใหญ่กว่าขนแดงใต้ตา
|
เป็นกระจุกฟูใหญ่กว่าขนแดงใต้ตา์
|
คอ
|
ขนาดของคอตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียทำให้ร้องเสียงดี และร้องได้ นานกว่าตัวเมีย จึงสามารถร้องเป็นเพลงได้หลายคำ
|
ขนาดของคอเล็กกว่าตัวผู้ทำให้ร้องเสียงไม่ดี ร้องได้ไม่นานจึงทำให้ร้องไม่เป็นเพลง
|
ขนคอด้านบน
|
จะเป็นขนสีดำเรียบ
|
จะเป็นขนสีดำเรียบ
|
ขนคอด้านล่าง
|
เป็นขนสีขาวสะอาดและขนฟูเป็นปุย เหมือนสำลีนูนออกมา
|
เป็นขนสีขาวสะอาดและขนฟูเป็นปุยเหมือนสำลี นูนออกมา
|
สร้อยคอ
|
จะมีสีดำเป็นแถบจากคอพาดลงมาที่หน้าอก ที่ปลายสร้อยคอ มองดูแล้วจะมีลักษณะออกแหลมแต่ไม่ค่อยเด่นชัดนัก
|
จะมีสีดำเป็นแถบจากคอพาดลงมาที่หน้าอก ที่ปลายสร้อยคอมองดูแล้วจะมีลักษณะไม่แหลม
|
อก
|
มีอกใหญ่ ขนหน้าอกมีมากกว่าตัวเมีย โดยใช้ปากเป่าอกดูขน
|
หน้าอก มีอกเล็กกว่าตัวผู้ และขนหน้าอกจะมีน้อยกว่าตัวผู้ โดยใช้ปากเป่าดูขนหน้าอก หนังที่อกของตัวเมียจะเนียนละเอียดเกลี้ยงกว่าตัวผู้
|
ขนที่หัวปีก
|
มีขนที่หัวปีกสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 12 เส้น
|
ขนที่หัวปีกไม่มีสีแดงทั้ง 2 ข้าง
|
หาง
|
ขนหางมีสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 12 เส้น
|
ขนหางมีสีน้ำตาลดำ มีขนหางจำนวน 9-10 เส้น
|
เสียงร้อง
|
เสียงร้องจะใหญ่และดังกังวานร้องได้ 3-7 พยางค์
|
เสียงเล็กกว่าตัวผู้ร้องได้สั้นๆ 1-2 พยางค์
|
อาหาร หนอนนก ผลไม้สุก เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก ลูกตำลึง กล้วยน้ำว้า กล้วยหิน ยอดใบอ่อนยอดตะขบ ตำลึง และแมลง
การเลี้ยง ต้องหมั่นดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เมื่อได้นกมาใหม่ ๆ ต้องคอยหาอาหารที่ใกล้เคียงธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นผลไม้ และตัวหนอน จัดสถานที่ที่เหมาะสมมิให้สัตว์อื่นหรือแม้กระทั่งบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องมารบกวน พยายามอยู่ในที่เงียบสักหนึ่งอาทิตย์เพื่อให้นกปรับสภาพ
ถ้าเป็นไปได้ให้นกเชื่องอยู่กับผู้เลี้ยงเพียงคนเดียว โดยผู้เลี้ยงหมั่นเปลี่ยนอาหาร น้ำ และนำนกไปแขวนไว้ที่โล่งแจ้งเพื่อให้ถูกแสงแดดในช่วงเช้าและเย็น ยกเว้นช่วงกลางวันแดดจัดไม่ควรให้ถูกแสงแดดมากๆ เกิน 2 ชั่วโมง แสงแดดจะช่วยทำลายเชื้อโรคจำพวกรา ลิ้นไรซึ่งอาจอยู่ตามซอกซี่กรงเป็นการรักษาให้นกมีสุขภาพดี
ถ้าเป็นไปได้ให้นกเชื่องอยู่กับผู้เลี้ยงเพียงคนเดียว โดยผู้เลี้ยงหมั่นเปลี่ยนอาหาร น้ำ และนำนกไปแขวนไว้ที่โล่งแจ้งเพื่อให้ถูกแสงแดดในช่วงเช้าและเย็น ยกเว้นช่วงกลางวันแดดจัดไม่ควรให้ถูกแสงแดดมากๆ เกิน 2 ชั่วโมง แสงแดดจะช่วยทำลายเชื้อโรคจำพวกรา ลิ้นไรซึ่งอาจอยู่ตามซอกซี่กรงเป็นการรักษาให้นกมีสุขภาพดี
ในช่วงหน้าร้อนควรหาภาชนะใส่น้ำให้นกได้อาบชำระตัว และขนให้สะอาด นกชนิดนี้ค่อนข้างรักษาความสะอาดของตัวเองการให้นกอาบน้ำควรเป็นเวลาช่วงบ่ายและควรนำนกไปผึ่งในที่แจ้งและมีแสงแดดส่อง นกจะทำความสะอาดตัวเองจากนั้นเอานกเข้าร่มเพื่อพักผ่อน
การได้นกมาเลี้ยง มีหลายวิธี ตั้งแต่จับลูกนกหูดำหรือลูกนกใบ้มาเลี้ยง (ขนที่หูหรือแก้มยังไม่เปลี่ยนเป็นสีแดง และยังร้องไม่เป็น) ข้อดีคือนกคุ้นเคยกับคน ไม่ตื่นกลัว แต่มักมีนิสัยขี้อ้อน , จับนกป่ามาเลี้ยง ข้อดี นกร้องเพลงเป็นแล้ว มีจิตใจเป็นนักต่อสู้ ข้อเสีย ขี้ตื่นกลัว และอาจใช้เวลานานหากจะเลี้ยงไว้แข่ง แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลา ก็ให้ซื้อนกที่ผ่านการเลี้ยงมาแล้ว ข้อดีคือเลือกได้เต็มที่ นกไม่ตื่นกลัวคน แต่ราคาแพง
การฝึกฝนเพื่อการแข่งขัน
การที่จะนำนกมาฝึกฝนเพื่อการแข่งขันควรเป็นนกที่อายุไม่มากและไม่ควรจะเกิน 1 ปี ถ้ายิ่งได้นกอายุ 2-3 เดือนมาฟูมฟักและเลี้ยงดูคู่กับนกใหญ่เสียงดี สำเนียงดี ลูกนก ( บางแห่งเรียกลุกใบ้ )ก็จะจดจำลีลาสำเนียงจากนก ใหญ่ที่ดีและเป็นผลดีกับผู้เลี้ยงเพื่อการแข่งขันอีกด้วยในการรักษาสายพันธุ์ของสายพันธุ์สำเนียงเสียง
การฝึกซ้อมนกปรอดหัวโขน เริ่มจากอาทิตย์แรกๆ ควร ซ้อมไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวันหลังจากพ้นหนึ่งเดือนไปแล้วก็เพิ่มเป็นวันละ 3 ชั่วโมง และต่อไปซ้อมวันละ 4 ชั่วโมง ช่วงเดือนที่สองและที่สามเราจะรู้ว่านกตัวไหนมีลีลาและสำเนียงเป็นเช่นไรเสียงผิดเพี้ยนหรือ ว่าไม่ ได้มาตรฐาน มีความตื่นตระหนกเวลาเคลื่อนย้ายและไม่ชินกับการเดินทางหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเราพาออกซ้อมกับนกบ้านอื่นแล้ว พบว่านกตัวนั้นหามีลีลาเป็นนักสู้แม้แต่น้อย คือ นกที่เป็นนกสู้จะออกท่าทาง ขึงขังกางปีกร้องท้าแล้วก็พองขน ถ้าไม่มีลักษณะนี้และฝึกฝนยังไงก็ไม่ดีขึ้น ควรแยกเอาไปอยู่ต่างหาก แต่ถ้านกตัวไหนทำสิ่งที่ตรงข้ามที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นนกที่เริ่มสู้นก และมีแววเป็นนกแข่ง
สังเกตนกของเราว่าสู้นกอื่นมากขึ้นด้วยการยืนขึ้นด้วยการยืนระยะนานนั้นหมายถึงนกของเราพร้อมจะลง แข่งได้แล้ว ยิ่งนกเริ่มผลัดขนมีใจสู้นกตัวอื่น ๆ อย่างไม่เกรงกลัว นับเป็นนกลักษณะดี
สำหรับเทคนิคการดูระยะยืนของนกที่เริ่มหัดใหม่นั้นให้สังเกตตอนนำไปซ้อมกับนกตัวอื่นๆ ให้เช็คเป็นยกๆ ไป ยกละประมาณ 25-30 นาที ทำทั้งหมด 3 ยก หากนกของเราออกอาการสู้ด้วยท่าทางและสำเนียงเกิน 20 นาทีขึ้นไปก็ถือว่าใช้ได้และค่อนข้างดีทีเดียว ยิ่งสลับให้ไปประกบคู่กับนก ตัวใหม่แล้วนกของเรายังคงออกอาการสู้และส่งเสียงร้องเป็นจำนวน 3 ประโยคขึ้นไป ก็ควรทะนะถนอมให้ดี และควรหมั่นซ้อมเช่นนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อจบยกสี่แล้วควรพักสัก 5 นาที แล้วเอานกเข้าไปซ้อมใหม่หากยังออกอาการเป็นนักสู้ด้วยลีลาและสำเนียงเสียง